วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

โรคขาดสารอาหารที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 4 โรค คือ
1. โรคขาดสารอาหารโปรตีนและกำลังงาน
2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
3. โรคขาดสารไอโอดีน
4. โรคขาดวิตามิน
1.โรคขาดสารอาหารโปรตีนและกำลังงาน โรคนี้พบมากในเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียน (อายุต่ำกว่า 5 ปี) ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวเร็ว มีความต้องการอาหารทั้งปริมาณและคณภาพยิ่งกว่าวัยอื่น ๆ เมื่อเด็กได้รับอาหารโปรตีนและกำลังงานไม่เพียงพอจึงเกิดโรคนี้ขึ้น ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อง่าย เช่น โรคท้องเสีย หวัด ปอดบวม เป็นต้น ถ้าเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงอาจถึงตายได้ แต่ถ้าไม่ตายจะทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองไม่ดีเท่าที่ควร
สาเหตุ
ทางตรง เกิดจากการที่ทารกและเด็กได้รับอาหารที่ให้โปรตีนและกำลังงานไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ซึ่งอาจเนื่องมาจาก
1. การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้นมผสมไม่ถูกส่วนหรือเลี้ยงทารกด้วยนมข้นหวาน
2. เมื่อถึงวัยอันควร เด็กไม่ได้รับอาหารตามวัยที่ถูกต้อง เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์
3. การเตรียมอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจจะทำให้เด็กท้องเสียและเกิดโรคติดเชื้ออื่น ๆ
ทางอ้อม เกิดปัญหาความยากจน ไม่มีจะกิน
ผลกระทบของโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน
1. ผลต่อเด็ก
1.1 ถ้าเป็นรุนแรงเด็กอาจตายได้ ทำให้อัตราตายขอทารก และเด็กวัยก่อนเรียนสูง
1.2 ผลต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายมีน้ำหนักน้อย และตัวเล็กกว่าปกติ ภูมิต้านทานโรคที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายและเมื่อเป็นแล้วมักจะรุนแรง เช่น โรคท้งร้วง หัด อัตราตายจะสูงกว่าเด็กปกติ
1.3 ผลต่อสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ ถ้าเป็นโรคนี้ เมื่ออายุยังน้อย จะมีจำนวนเซลล์ในสมองน้อยกว่าปกติ และขนาดของสมองก็เล็กกว่าปกติ จึงทำให้การพัฒนาทางสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ด้อยไปด้วย2. ผลต่อครอบครัว ทำให้สิ้นเปลืองในการดูแลรักษาลูกที่เจ็บป่วยบ่อย ๆ และเสียเวลาในการทำมาหากิน
3. ผลต่อประเทศชาติ ทำให้ได้พลเมืองที่ไม่มีคุณภาพทั้งด้านสติปัญญา การเรียนรู้ และด้านร่างกาย เป็นผลทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา
การป้องกันการขาดโปรตีน เนื่องจากปัญหาโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน มีความสำคัญมากต่อสุภาพและคุณภาพชีวิตคน จึงควรร่วมมือร่วมใจป้องกันทุกฝ่าย ทั้งในชุมชนและในทุกหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
1. ค้นหาปัญหาและการเฝ้าระวังติดตามทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด 5 ปี ทุก ๆ 3 เดือน
2. ให้อาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโปรตีน และกำลังงานแก่เด็กอย่างเพียงพอ
3. เพิ่มผลผลิตอาหาร
4. ให้โภชนศึกษา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องอาหารและโภชนาการแก่บิดามารดาของเด็ก


ที่มา http://www.dekdern.com/


2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคนี้พบมากในกลุ่มหญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน โดยมีเครื่องชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดภาวะโลหิตจางของประชากรกลุ่มอายุต่าง ๆ ใช้ค่าเฮโมโกบิล หรือค่าเฮมาโตคริต ตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก โดยกลุ่มประชากรดังกล่าวหากมีค่าต่ำกว่าที่กำหนด หมายถึง อยู่ในภาวะโลหิตจาง


สาเหตุของการขาดสารอาหารที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางส่วนใหญ่ เนื่องมาจาการขาดธาตุ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง คือ


1. ได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
2. เป็นโรคพยาธิปากขอ
3. สูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น เสียเลือดจากระบบทางเดินอาหาร จากการรับประทานยาแก้หวัดเป็นประจำ


อาการของโรคโลหิตจาง


1.เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แม้ทำงานเล็กน้อยก็หายใจหอบ
2. รู้สึกหัวใจเต้น ปวดศีรษะ หงุดหงิด มึนงง เป็นลมวิงเวียน หน้ามืดเสมอ
3. เล็บเปราะบาง และซีด
4. ลิ้นเลี่ยนเรียบ ไม่มีตุ่ม และอักเสษ
5. ผิวพรรณซีดและตาซีด


ผลเสียของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก


1. การขาดธาตุเหล็ก เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และประสิทธิภายการทำงานของร่างกายในทุกกลุ่มประชากร
2. ในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดต่ำและมีอัตราตายของทารกขณะคลอดและหลังคลอดสูง
3. ในทารก และเด็กก่อนวัยเรียน จะทำให้เจริญเติบโต และการพัฒนาของร่างกายและสมองช้า และมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็กวัยเรียนด้วย
4. ทำให้ระบบการป้องกันโรคของร่างกายต่ำ


การป้องกันการขาดธาตุเหล็ก


1. ให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และผักใบเขียว
2. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคพยาธิ โดยการปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
3. การเสริมธาตุเหล็ก ในรูปของยาเม็ดหรือน้ำไซรับ ในกลุ่มประชาชนเป้าหมาย คือหญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
ที่มา healthnet.md.chula.ac.th

3. โรคขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาโภชนาการที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่พบมากทีในแถบถิ่นทุรกันดาร แถบภูเขาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคกลาง รวมทั้งภาคใต้ของประเทศสาเหตุ 1. ปัจจัยทางธรรมชาติ อันได้แก่ ดินและน้ำในพื้นที่มีปัญหา ซึ่งพบว่าทั้งดินและน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคกลาง มีปริมาณไอโอดีนในดินและในน้ำต่ำกว่าในกรุงเทพฯ ประมาณ 4-7 เท่า และยังพบว่าพืช ผัก ชนิดเดียวกับในบริเวณที่มีอัตราคอพอกสูงมีปริมาณไอโอดีนต่ำ 2. การกระจายอาหารที่มีไอโอดีนสูงไม่ทั่งถึง เนื่องจากการคมนาคมลำบาก ไม่มีอาหารทะเลสำหรับบริโภคสม่ำเสมอประกอบกับอาหารทะเลราคาแพง ไม่มีอำนาจซื้อเพราะเศรษฐกิจไม่ดี 3. ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจต่อโรคนี้ ตลอดไปจนถึงความรู้ถึงสาเหตุและวิถีทางป้องกันโรคที่จะนำไปปฏิบัติได้ง่าย


ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีนต่อร่างกาย


เมื่อร่างกายขาดสารไอโอดีน มีผลทำให้ร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่สำคัญและประการ เรียกว่าภาวะผิดปกติจากการขาดสารไอโอดีน (Iodine Deficiencies Disorders หรือ IDD) จะมีอาการดังนี้

1. คอพอก หมายถึง ต่อมไทรอยด์ที่คอโตกว่าปกติ ถ้าโตมาก ๆ จะกดหลอดลม ทำให้ไอ สำลัก หายใจลำบาก ถ้ากดหลอดลมอาหารจะกลืนลำบาก

2. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีไทรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะมีอัตราการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ลดลง การนำสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ตลอดจนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะเป็นไปได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายหยุดชะงัก เติบโตช้าลงได้ ในผู้ใหญ่ มีอาการเกียจคร้าน อ่อนเพลีย เชื่องช้า ง่วงซึม ผิวหนังแห้ง ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ ท้องผูก เสียงแหบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในวัยเด็ก นอกจากอาการที่แสดงดังกล่าวแล้ว ยังพบอาการเชื่องช้า ทางจิตใจและเชาว์ปัญญาอีกด้วย ในวัยแรกเกิด มีความสำคัญและรุนแรงมากจะมีอาการทางสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ไม่สามารถแก้ไขได้ เรียกว่าภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในเด็กแรกเกิด

3. ครีตินนิซึม หรือเอ๋อ แม่ที่ขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ลูกที่คลอดออกมาจะมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำตั้งแต่แรกเกิด ถ้าแม่มีการขาดไอโอดีนรุนแรง อาจทำให้ทารกตายตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้ง หรือพิการตั้งแต่กำเนิด และถ้าทารกได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 20ไมโครกรัม/วัน จะพบครีตินมิซึม เฉพาะในทารกจะแสดงอการผิดปกติทางร่างกายติดต่อไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 ผู้ป่วยมีสติปัญญาต่ำรุนแรง หูหนวก เป็นใบ้ มีความผิดปกติทางระบบประสาทเด่นชัด คือ การกระตุกตาเหล่ ท่าเดินผิดปกติ และกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ลักษณะที่ 2 ผู้ป่วยมีสติปัญญาต่ำมาก การเจริญเติบโตทางร่างกายช้ามากจะเตี้ยแคระแกร็น ผิวหนังหนา ปวดกดไม่บุ๋มแต่หูไม่หนวก ไม่เป็นใบ้โดยทั่วไปต่อมไทรอยด์ไม่โต


การป้องกันการขาดสารไดโอดีน


1. เฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน เพื่อประเมินสถานการณ์ทางโรคโดย ก. ตรวจคอพอกในเด็กนักเรียนประจำปี ข. การตรวจหาระดับไทรอยด์สติบูเลติ้งฮอร์โมน (TSH) ในเลือดจากสายรกของทารกแรกเกิด ค. การตรวจหาระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กวัยเรียนในจุดที่มีระบาดสูง ทำปีละครั้ง

2. ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเรื่องการใช้เกลือเสริมไอโอดีน และน้ำปลาเสริมไอโอดีน ในการปรุงอาหารอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน

3. การเสริมไอโอดีน

ก. การดื่มน้ำเสริมไอโอดีน ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 4 แก้ว โดยหยดสารละลายไอโอดีนเข้มข้นที่บรรจุในขวดเดี่ยวมีหลอดหยด หยดลงในน้ำดื่มอัตราส่วน 2 หยดต่อน้ำ 10 ลิตร

ข. การใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหาร ควรใช้เกลือเสริมไอโอดีนประกอบอาหารอย่างน้อยวันละ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน เพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

ค. การใช้น้ำปลาเสริมไอโอดีน สามารถใช้สารละลายไอโอดีนเข้มข้นที่บรรจุในขวดเดี่ยว หยดลงในน้ำปลา 6 หยด/ขวด


ที่มา http://www.wedding.co.th/


4. โรคขาดวิตามินเอ เป็นโรคที่พบในเด็กวัยทารก และเด็กวัยก่อนเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน



สาเหตุ


1. เกิดจากการกินอาหารที่ขาดวิตามินเอ ซึ่งมีมากในผลไม้ ผักสีเขียว เหลือง ตับสัตว์ ไข่ นม นอกจากนี้อาจขาดอาหารอื่น ๆ ด้วย เช่น ไขมัน ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดซึมและเก็บสะสมวิตามินเอในร่างกาย 2. การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้นมข้นหวานเลี้ยงทารกและไม่ได้รับอาหารตามวัยที่มีวิตามินเอผลของการขาดวิตามินเอ การขาดวิตามินเอ ก่อให้เกิดอาการ ดังนี้ 1. ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก อำนาจต้านทานโรคต่ำ 2. อาการทางตา จะมีอาการเสื่อมของการเห็นในที่มืด มีอาการตาฟางมองไม่ชัดเจนในเวลากลางคืนและในที่มืด ที่ตาขาวมีเกล็ดกระดี่เป็นกลุ่มฟองสบู่ ตาดำจะขุ่นขาวเป็นแผล และในที่สุดตาบอดสนิทอย่างถาวร 3. อาการที่เกี่ยวกับผิวหนัง ผิวหนังจะแห้งเป็นเกล็ด หรือเกิดเป็นตุ่มสาก ๆ บนผิวหนังเรียก Follicular hyperkeratosisโดยเฉพาะบริเวณข้อศอก หัวเข่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของตุ่มขุมขน ถ้าเป็นมาก ๆ ผิวหนังจะขรุขระ คล้ายหนังคางคก

การป้องกันการขาดวิตามินเอ

1. กินอาหารพวกผลไม้ ผักสีเขียวให้มาก พวกไข่ ตับ นม ร่วมกับการบริโภคอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกวัยก่อนเรียน หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร

2. ให้โภชนศึกษาแก่ประชาชน โดยการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ที่มา www.thaigoodview.com


(ที่มา http://edtech.kku.ac.th/)










โรคไข้เลือดออก


โรคไข้เลือดออกเริ่มระบาดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2501 ที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ป่วย 2,418 รายและเสียชีวิต 240 ราย (10%) โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง คือ เชื้อไวรัสเต็งกิ่ว (Dengue) ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดและพบทุกปีคือ ชนิดที่ 2 และมักทำให้อาการรุนแรง ส่วนชนิดที่ 4 จะพบได้เพียงบางปีเท่านั้นคนส่วนใหญ่จึงไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อ ผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เท่า ๆ กัน เด็กที่อายุน้อยที่สุดที่พบว่าเป็นไข้เลือดออก คือ อายุประมาณ 2 เดือน เด็กอายุ 5-9 ปี มีโอกาสเป็นโรคบ่อย ระยะหลังพบว่าเด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่มีแนวโน้มเป็นไข้เลือดออกมากขึ้น โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง แต่จะต้องติดผ่านทางยุงลายเท่านั้น ยุงลายซึ่งเป็นยุงที่อยู่ในเมืองเพาะพันธุ์ในน้ำใส เช่นในภาชนะที่ขังน้ำฝน แอ่งน้ำขังบริเวณบ้าน โอ่งน้ำ ถ้วยรองขาตู้กันมด ยุงลายจะกัดเฉพาะเวลากลางวัน โดยยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่กำลังเป็นไข้เลือดออกและมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวผู้ป่วย เมื่อไวรัสตัวนี้เข้าไปอยู่ในตัวยุงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและจะมีชีวิตอยู่ในตัวยุงได้ตลอดอายุไขของยุง (ประมาณ 1-2 เดือน) ยุงจะแพร่เชื้อไวรัสได้ทุกครั้งที่กัดคนโรคไข้เลือดออกมักระบาดในฤดูฝนเนื่องจากจำนวนยุงจะมีมากขึ้นในฤดูนี้


ที่มา http://www.kingdomplaza.com/

คนที่ได้รับเชื้อ แบ่งได้ 4 กลุ่มคือ

1. ไม่มีอาการใด ซึ่งส่วนใหญ่ 80-90 % อยู่ในกลุ่มนี้

2. ไข้จากการติดเชื้อไวรัส ที่ไม่สามารถแยกได้จากการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ

3. โรคไข้เต็งกิ่ว (Dengue Fever) โดยมีอาการเด่นคือ ไข้สูง 39-41 องศาเซลเซียส มีอาการปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้ออย่างมาก ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน จะมีระยะไข้ประมาณ 2-6 วัน เมื่อหายเป็นปกติผู้ป่วยอาจจะมีผื่นแดงตามตัว แขน ขา อาจพบมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือเลือดออกได้แต่อาการจะไม่รุนแรง วิธีการรักษา การรักษาโรคไข้เต็งกิ่ว เป็นการรักษาตามอาการ ผู้ป่วยสามารถรับยาแก้ไข้ พาราเซตามอลได้ ควรเช็ดตัวให้ผู้ป่วยเมื่อมีไข้สูง ห้ามให้ยาลดไข้ที่มีแอสไพริน ควรนอนพักและดื่มนำให้เพียงพอ หากมีอาการเหงื่อออกมากหรืออาเจียนควรรับประทานน้ำเกลือชดเชยด้วย

4. โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) แบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ

ระยะไข้ เชื้อมีระยะฟักตัวตั้งแต่ถูกยุงกัด จนเริ่มมีไข้ประมาณ 5-8 วัน เด็กที่เป็นไข้เลือดออกระยะเริ่มต้นจะมีอาการเหมือนกับไข้เด็งกิ่ว มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน ไข้อาจสูงถึง 39-41 องศาเซลเซียส นาน 2-7 วัน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการของหวัดที่ชัดเจน เช่น ไอ น้ำมูก แต่อาจพบเจ็บคอเล็กน้อยร่วมกับไอเล็กน้อย อาการเด่นที่พบคือหน้าตาจะดูแดง ๆ อาการอื่นที่พบร่วมด้วยบ่อยคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดตามตัว ในเด็กเล็กอาจมีอาการชักจากไข้สูงได้ด้วย

ระยะช็อค เป็นระยะต่อจากไข้ ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่เด็กจะดูป่วยมากกว่าเดิม ในโรคอื่น ๆ เมื่อไข้ลด เด็กจะสบายดี ทานได้เล่นได้ แต่โรคนี้ระยะไข้ลดเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด ในรายที่อาการหนัก เด็กจะทรุดลงเร็วมาก มือเท้าเย็น เหงื่อออกมาก กระวนกระวาย ปวดท้อง แน่นท้อง กระสับกระส่าย หายใจแรงและเร็ว ชีพจรเต้นเบาเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำลงจนช็อค ในขณะที่บางรายจะมีเลือดกำเดาไหล จุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกในกระเพาะหรือลำไส้ ทำให้อาเจียนเป็นเลือดดำ ๆ หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ระยะช็อคส่วนใหญ่ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ในรายที่อาการไม่มาก จะมีอาการชีพจรเต้นเบาเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำลงเล็กน้อย เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วกลับเป็นปกติได้เองหรือหลังได้รับการรักษาช่วงระยะสั้น ๆ

ระยะพักฟื้น ภายหลังจากที่ผู้ป่วยผ่านพ้นระยะอันตรายมาแล้วก็จะเข้าสู่ระยะพักฟื้น ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการช็อคก็จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว มีปัสสาวะมาก มีความอยากอาหาร และอาจพบผื่นแดง ๆ ทั้งตัวโดยเฉพาะบริเวณขา

การวินิจฉัย โดยทั่วไปแล้วอาการแสดงร่วมกับการตรวจพบเกร็ดเลือดต่ำ และความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้นก็เพียงพอ แต่ในบางรายที่อาการไม่ชัดเจนอาจต้องใช้การตรวจพิเศษร่วมด้วย การตรวจหาตัวเชื้อไข้เลือดออกด้วยวิธี PCR เป็นวิธีหนึ่งที่ทางโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา นำมาใช้เพื่อความแน่นอนในการวินิจฉัย โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่วันแรกที่มีไข้ และมีความไวสูงถึง 94 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาประมาณ 2 วันเท่านั้น

วิธีการรักษา หลักการรักษาโรคไข้เลือดออกที่สำคัญและให้ผลดีคือ การให้น้ำเกลือในปริมาณและชนิดของน้ำเกลือที่เหมาะสม กล่าวคือเมื่อผู้ป่วยอาการยังไม่รุนแรงนักแพทย์ก็จะให้น้ำเกลือพอสมควรและจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น นอกจากนี้การเฝ้าระวังดูอาการของผู้ป่วยรวมทั้งการวัดความดันโลหิตและการตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แพทย์ได้รู้สภาพของผู้ป่วยก่อนที่อาการจะเป็นมากจะได้ให้การรักษาทันท่วงที ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกหรืออาการมาก แพทย์อาจจำเป็นต้องให้เลือดหรือเกร็ดเลือดชดเชย

ไข้เลือดออกในระยะเริ่มต้นอาจมีอาการคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป นอกจากนี้อาการของโรคไข้เด็งกิ่วและไข้เลือดออกในระยะ 2-3 วันแรกจะมีอาการเหมือนกัน หลังจากนั้นอาการของแต่ละโรคจึงจะปรากฎชัดเจนขึ้น ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและทำการตรวจรักษาได้ทันการ

(ที่มา นพ. พุทธชาติ ดำรงกิจชัยพร กุมารแพทย์ และกุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา จาก http://www.pattayahealth.com/ )






วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

โรคที่เกิดในเด็ก

สวัสดีค่ะอาจารย์ วันนี้มาเรียนนะค่ะ